นอนกรน pantip มีอาการเป็นอย่างไร รักษาหายหรือไม่

นอนกรน pantip มีอาการเป็นอย่างไร รักษาหายหรือไม่

นอนกรน (Snoring) เป็นเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน และจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น นอนตะแคง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน หรืออาจศึกษาวิธีการรักษาการนอนกรน pantip จากกระทู้พันทิป Liposuction

การนอนกรนจะส่งผลต่อทั้งสุขภาพของผู้ที่นอนกรนเองและรบกวนบุคคลที่นอนข้าง ๆ นอนกรนพบได้มากในเพศชาย และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

นอนกรน pantip

อาการอย่างไรจึงเรียกว่านอนกรน

ผู้ที่นอนกรนมักเกิดอาการร่วมกันระหว่างทางเดินหายใจถูกปิดกั้นและอวัยวะภายในลำคอสั่น ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงของการหลับลึกและจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย โดยมีเสียงเกิดขึ้นที่บริเวณลำคอระหว่างหายใจเข้าในขณะนอนหลับ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง

เสียงกรนที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น หากเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังของโพรงจมูกสั่นจะทำให้เกิดเสียงขึ้นจมูก หรือหากเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นจะทำให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นในลำคอ เป็นต้น

บทความแนะนำ กระชับจุดซ่อนเร้น By Rattinan.com

นอนกรนมีสาเหตุจากอะไร

  • ทางเดินหายใจบริเวณจมูกถูกปิดกั้น มักพบได้ในผู้ป่วยภูมิแพ้ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยริดสีดวงจมูก หรือผู้ที่มีโครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น
  • เพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ยาวทำให้ทางเดินหายใจหลังจมูกและลำคอตีบแคบลง จะไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • ลิ้นและกล้ามเนื้อที่ลำคอหย่อนคลายตัวทำให้ถอยกลับไปปิดกั้นทางเดินหายใจ พบได้ในผู้ที่หลับลึก ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน ผู้ที่ใช้ยานอนหลับ รวมถึงผู้สูงอายุ
  • เนื้อเยื่อที่ลำคอมีขนาดใหญ่พบได้ในคนอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมแอดีนอยด์โต

ความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

  • การนอนกรนทั่วไป จะมีอาการไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ แต่อาจส่งผลกระทบกับบุคคลที่นอนข้าง ๆ
  • การนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
  • การนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ในขณะที่นอนหลับแล้วเกิดภาวะหยุดหาย (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ซึ่งเป็นความผิดปกติในการนอน มักมีความเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นได้กับผู้ที่นอนกรน หากมีอาการต่อไปนี้ร่วมกับการนอนกรนท่านควรไปพบแพทย์

  • ง่วงมากในตอนกลางวัน
  • สมาธิและความจำลดลง
  • กรนเสียงดัง
  • ปวดศีรษะในตอนเช้า
  • สำลัก หรือเจ็บหน้าอกในตอนกลางคืน
  • คอแห้ง เจ็บคอ
  • นอนกระสับกระส่าย
  • ความดันโลหิตสูง
การวินิจฉัยนอนกรน

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ที่นอนกรน หรือตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่าจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในช่องปากของผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เพื่อหาทางรักษาต่อไป หรือผู้ที่นอนกรนในระดับที่รุนแรง แพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้

  • การเอกซเรย์ (X-Rays) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติหรือโครงสร้างของทางเดินหายใจ
  • การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test หรือ Polysomnography) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการนอนกรน ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาการนอนหลับอื่น ๆ อาจต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนอนหลับโดยผู้เชี่ยวชาญ

การตรวจแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษา ควรหาข้อมูลการนอนกรนจาก pantip ด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อให้แพทย์ประเมินและแนะนำวิธีการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

นอนกรน pantip รักษายังไง

การป้องกันนอนกรน

หากอาการอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมากสามารถบรรเทาและป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

  • หากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การลดไขมันหน้าท้อง การลดน้ำหนัก จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
  • แนะนำให้นอนตะแคง เนื่องจากการนอนหงายจะเพิ่มโอกาสให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • แนะนำให้นอนหมอนสูง โดยใช้หมอนรองให้ศีรษะสูงขึ้นประมาณ 4 นิ้ว
  • ท่านควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
  • ใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • ลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาระงับประสาท เพื่อลดโอกาสที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวและปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เด็กก่อนวัยเรียนควรนอนประมาณ 11-12 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในวัยเรียนควรนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่นควรนอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ใหญ่ควรนอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

บทสรุป

นอนกรน pantip การนอนกรนเป็นปัญหาที่ไม่ได้แต่จะทำร้ายแค่ตัวเรา แต่ยังสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่ร่วมหลับนอนด้วย ซึ่งหากอาการยังไม่รุนแรงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่หากเข้าขั้นที่เริ่มมีปัญหาในการนอนหลับของตัวเองท่านควรที่จะเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาให้ถูกต้องต่อไป