You are currently viewing เลเซอร์แผลเป็น มีกี่ประเภทกี่วิธี แบบไหนให้ผลลัพธ์ดี

เลเซอร์แผลเป็น มีกี่ประเภทกี่วิธี แบบไหนให้ผลลัพธ์ดี

เลเซอร์แผลเป็น เป็นทางเลือกในการรักษาผิวพรรณ เป็นการรักษาผิวพรรณอย่างหนึ่ง ช่วยในเรื่องการปรับสภาพผิวให้ดีขึ้นด้วยเลเซอร์ โดยยิงแสงเลเซอร์ไปตรงบริเวณที่เกิดความผิดปกติ และลอกชั้นผิวหนังออกทีละชั้น รอยแผลเป็นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และเป็นปัญหาที่พบบ่อย คือ รอยแผลเป็นจากสิว และรอยแผลเป็นจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด ซึ่งการรักษารอยแผลเป็น เป็นปัญหาที่ท้าทายแพทย์ผิวหนังอย่างมาก แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ทันสมัยขึ้นอย่างมาก สามารถรักษารอยแผลเป็น ได้โดยการกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่และการตัดพังผืดใต้ชั้นผิวหนังโดยไม่มีรอยแผลเป็นหรือเลือดออก ด้วยเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง ไม่มีผลข้างเคียงหลังทำ

เลเซอร์แผลเป็น

ประเภทของแผลเป็น

เลเซอร์แผลเป็น สามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของแผลที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. แผลเป็นทั่วไป

เกิดขึ้นจากการรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกาย แผลเป็นชนิดนี้แรกเริ่มมักเป็นสีแดงหรือสีคล้ำนูนขึ้นมาจากผิวหนังหลังจากนั้นจึงค่อย ๆ มีสีอ่อนและแบนลงอาจมีอาการคันบ้างเนื้อเยื่อของแผลเป็นจะถูกสร้างขึ้นเพื่อมาเติมเต็มผิวหนังส่วนที่เสียหาย จึงทำให้แผลเป็นมีขนาดใหญ่และต้องใช้เวลานานกว่าจะจางลง

  1. แผลเป็นคีลอยด์

เกิดจากการรักษาแผลที่คอลลาเจนถูกสร้างขึ้นมากผิดปกติ แม้ว่าแผลจะหายดีแล้วก็ตามแผลเป็นคีลอยด์มักมีลักษณะนูนขึ้นจากผิวหนัง ค่อนข้างเป็นมันเงา และไม่มีขนขึ้นที่แผล แผลเป็นชนิดนี้ยังมักตามมาด้วยอาการคัน เจ็บ แสบร้อน หรือหากแผลตึงและเกิดใกล้ข้อต่อก็อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวได้ด้วย

  1. แผลเป็นนูน

แผลเป็นนี้คล้ายคลึงกับคีลอยด์มากทีเดียว เพราะนอกจากจะเกิดจากการผลิตคอลลาเจนรักษาแผลที่ไม่สมดุลเหมือนกันแผลเป็นนูนอาจจำกัดการเคลื่อนไหวให้ทำได้ไม่เต็มที่เหมือนปกติ เนื้อแผลเป็นหนาขึ้นกว่าเดิมจากนั้นค่อย ๆ แบนและเลือนลงในช่วงเวลา 2-5 ปี

  1. แผลเป็นจากแผลไหม้

ผิวหนังที่ถูกไหม้โดยจะทำให้ผิวหนังตึง และอาจส่งผลให้การเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดแผลทำได้ไม่เต็มที่ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือแผลนี้สามารถเกิดลึกลงไปจนกระทบต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้

  1. แผลเป็นหลุมลึก

ปัญหาสิวที่รุนแรงอาจทิ้งร่องรอยแผลเป็นไว้ไม่หาย นอกจากนี้ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังที่เกิดจากโรคเช่น อีสุกอีใส ที่แม้จะรักษาจนหายดีแล้ว ก็ทิ้งรอยหลุมแผลเป็นฝากไว้ได้เช่นกัน

เลเซอร์แผลเป็น รักษายังไง

เลเซอร์ผิวหนังสามารถแบ่งตามชนิดของกลุ่มโรค

เลเซอร์ผิวหนังปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5 กลุ่ม คือ

  1. เลเซอร์ที่ใช้พลังงานความร้อนไปทำลายเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น กระเนื้อ ไฝธรรมดา หรือขี้แมลงวัน
  2. เลเซอร์ที่ไปทำลายเม็ดสีหรือสีผิวที่ผิดปกติ เช่น คนที่เป็นกระแดด กระลึก หรือเป็นปานสีเทาสีน้ำเงิน ที่เรียกว่า ปานโอตะ ซึ่งยังสามารถลบรอยสัก ยิงรอยสักได้ด้วย
  3. เลเซอร์รักษาเส้นเลือดที่ผิดปกติ ทำให้เราเห็นผิวตรงนั้นนูนหรือแดงขึ้น หรือที่เราเห็นเป็นปานแดงหรือบางคนที่เป็นปานสตรอเบอร์รีที่เป็นก้อนแดง ๆ นูนขึ้นมา จะใช้เลเซอร์รักษาความผิดปกติของหลอดเลือดขึ้นมารักษา โดยสามารถรักษาเส้นเลือดฝอยที่หน้า หรือบางคนใช้เลเซอร์กลุ่มนี้รักษาแผลเป็นนูน ไปทำลายท่อน้ำเลี้ยงของแผลเป็นนูน ให้แผลเป็นนูนฝ่อ
  4. เลเซอร์กำจัดขน โดยแสงจะลงไปที่รากขนของมันเอง ไม่ต้องจี้ทีละเส้น เลเซอร์กลุ่มนี้สามารถทำให้จำนวนเส้นขนลดลงไปในช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวหลังการยิงติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง
  5. เลเซอร์กลุ่มปรับสภาพผิวชนิดไม่มีแผล หรือเรียกว่าเลเซอร์กระตุ้นคอลลาเจน กลุ่มนี้นำไปใช้ในการรักษาริ้วรอย หรือกระชับรูขุมขนเป็นแบบที่ไม่มีแผล หลักการคือให้แสงลงไปที่หนังแท้ส่วนต้น เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนใหม่ เหมาะกับการลบริ้วรอยและรักษาแผลหลุมตื้น ๆ

ผลลัพธ์หลังทำเลเซอร์ผิวหนัง

  1. เมื่อเข้ารับการรักษาปัญหาผิวพรรณด้วยการทำเลเซอร์แล้ว อาจต้องใช้เวลาสักระยะจนกว่าจะเห็นผล โดยการทำเลเซอร์ผิวหนังแต่ละประเภทให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
  2. การทำเลเซอร์ชนิดที่ทำให้ผิวเกิดอาการลอก หลังทำเลเซอร์ผิวหนังชนิดนี้ ผิวอาจมีรอยแดงหรือออกสีชมพูเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อบริเวณที่ถูกยิงเลเซอร์เริ่มหายดีแล้ว คุณภาพและลักษณะของผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงทันทีอย่างเห็นได้ชัด โดยการทำเลเซอร์ชนิดนี้จะช่วยให้เห็นผลได้นานหลายปี
  3. การทำเลเซอร์ชนิดที่ไม่ทำให้ผิวเกิดอาการลอก ผู้ที่รับการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดนี้จะค่อย ๆ เห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ได้เห็นผลทันที โดยลักษณะผิวและสีผิวจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าการรักษาเพื่อขจัดริ้วรอย

ปัจจัยเสี่ยงและผลข้างเคียงของเลเซอร์ผิวหนัง

  1. การทำเลเซอร์ผิวหนังถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาปัญหาผิวพรรณต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จะไม่สามารถเข้ารับการทำเลเชอร์ผิวหนังได้
  2. ผู้ที่เคยใช้ยารักษาสิวไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) ก่อนเข้ารับการรักษาได้ไม่นาน
  3. ผู้ป่วยเบาหวาน ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  4. ผู้ที่เคยมีประวัติรับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่ใบหน้า
  5. ผู้ที่เคยมีประวัติเกิดแผลเป็นคีลอยด์
  6. สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร