You are currently viewing นอนกรน รักษา ยังไง สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายไหม

นอนกรน รักษา ยังไง สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายไหม

หากจะถามว่า นอนกรน รักษา ได้ไหม และ การนอนกรนเกิดจากอะไรนั้น การนอนกรนเกิดจาก การที่ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเรา เกิดการตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจที่ผ่านเข้ามาผ่านช่องที่แคบนี้ เกิดการกระพือ และกลายเป็นเสียงกรนขึ้น

โดยเสียงกรนที่เกิดขึ้นนี้ อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น  เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนในลำคอ หรือถ้าเกิดการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนแบบขึ้นจมูก เป็นต้น

นอนกรน รักษา

สาเหตุการนอนกรน มีดังนี้

  • เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากคุณพ่อ คุณแม่ของเรา ที่เมื่อก่อนไม่เคยนอนกรน แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีอาการนอนกรนเกิดขึ้น
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
  • ผู้ที่มีไขมันในช่องคอหนา
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือออกกำลังกาย การนอนกรน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก
  • ผู้ที่นอนหงายเป็นประจำ

การนอนกรนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • นอนกรนแบบธรรมดา

การนอนกรนประเภทที่มีแต่เสียงดังน่ารำคาญ แต่ไม่เป็นผลต่อร่างกายขนาดร้ายแรง ซึ่งเกิดจากการตีบแคบของช่องทางเดินหายใจเพียงบางส่วน แต่ไม่ได้ปิดสนิททั้งหมด จึงทำให้ยังมีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ แต่ช่องคอที่แคบทำให้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเกิดเป็นเสียงกรนดังขึ้น ซึ่งสร้างความรำคาญกับผู้ที่ร่วมหลับนอนด้วย

  • การนอนกรนแบบอันตราย

เป็นอาการที่กล้ามเนื้อในช่องคอมีการหย่อนตัวลงมากขึ้น ช่องทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ก็จะแคบลงมาจนปิดสนิทและเมื่อปิดสนิทก็จะไม่มีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ และเมื่อไม่มีอากาศไหลผ่าน ก็จะไม่มีการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อ เสียงกรน ก็จะหายไปด้วย (ชั่วคราว) นั่นหมายถึงอันตรายได้เริ่มขึ้นแล้ว

ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Obstructive Sleep Apnea หรือเรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA

วิธีสังเกตอาการหยุดหายใจขณะหลับ

ในบางรายที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคอัมพาต ซึ่งอาการนี้สังเกตได้ไม่ยาก ทั้งเจ้าตัวที่นอนกรน รวมทั้งคนใกล้ชิดสามารถสังเกตอาการที่ปรากฏง่ายๆ ดังนี้

  • หายใจติดขัดและหยุดหายใจเป็นพัก ๆ
  • มีอาการซึมเศร้า ความต้องการทางเพศ และสติปัญญาลดลง
  • ขี้เซาและง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน ปวดศีรษะและคอแห้งตอนเช้า
  • มีเสียงกรนดังได้ยินชัดเจน
  • ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ ขณะนอนหลับมีการพลิกตัวไปมาอย่างผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยการนอนกรน
  • แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดชีพจร ความดันโลหิต และวัดเส้นรอบวงคอ สรีระบริเวณ ศีรษะ คอ จมูก และช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น ว่าอาการนอนกรนของท่านเกิดจากสาเหตุอะไร
  • แพทย์อาจขอส่องกล้อง เพื่อดูช่องทางเดินหายใจอย่างละเอียด (Endoscopy)
  • สุดท้าย แพทย์มักจะส่งให้ท่านเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ด้วย

นอนกรน รักษา ยังไง

วิธีเลี่ยงเสียงกรน
  • จัดท่านอน พยายามจัดท่านอน เพื่อป้องกันการหายใจทางปาก โดยการนอนตะแคง
  • ความอ้วนเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของอาการนอนกรน เพราะไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจบริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง ดังนั้นจึงควรลดน้ำหนัก
  • ออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อที่ดึงรั้งช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น
  • ยกศีรษะให้สูงขึ้น ถ้านอนตะแคงไม่ได้จริง ๆ ให้นอนหงายแล้วใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอจนเกิดเสียงกรนได้
  • รักษาที่นอนให้สะอาด พยายามกำจัดปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดหอบหืด ภูมิแพ้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์
  • เพิ่มระดับความชื้นในห้องนอน เพราะการนอนในห้องที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุ
    ต่าง ๆในระบบทางเดินหายใจพลอยแห้งตามไปด้วย

การรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ

สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ผ่าตัดเพดานในช่องปากหรือตัดกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้น
  • ใส่อุปกรณ์ดึงลิ้นหรือกรามให้เลื่อนไปด้านหน้า
  • การลดน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักลงจะช่วยลดเรื่องการนอนกรนได้
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกในทางเดินหายใจ(CPAP) เพื่อเปิดทางเดินหายใจที่ตีบแคบให้กว้างขึ้น
  • จี้หรือผ่าตัดเพดานอ่อนและลิ้นไก่ด้วยเลเซอร์
  • ผ่าตัดเลื่อนกรามเพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น

บทสรุป

นอนกรน รักษา การนอนกรนหากมีอาการที่ยังไม่ถึงขั้นกับรุนแรงมาก ท่านสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ได้ แต่หากเข้าสู่ขั้นรุนแรงถึงขั้นกับมีภาวะหยุดหายใจ ท่านต้องรีบเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพของตัวท่านเอง