You are currently viewing นอนกรน หยุดหายใจ รักษายังไง อันตรายถึงชีวิตหรือไม่

นอนกรน หยุดหายใจ รักษายังไง อันตรายถึงชีวิตหรือไม่

เสียงนอนกรนที่สร้างความรำคาญให้กับคนในบ้านจนกลายเป็นเรื่องเคยชิน มีใครจะรู้บ้างว่าการนอนกรนนั้นจะมากับภาวะความเสี่ยงของการหยุดหายใจในขณะหลับ นอนกรน หยุดหายใจ ทำให้คุณภาพการนอนนั้นย่ำแย่ในขั้นที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

มีผู้ที่นอนกรนถึงประมาณร้อยละ 25 ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ปล่อยไว้จนเริ่มมีผลกระทบต่อร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวันมาก ๆ กระทั่งทนไม่ไหว จึงค่อยตัดสินใจมาพบแพทย์

นอนกรน หยุดหายใจ

สัญญาณเตือนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • ตื่นมาในตอนเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย เหมือนคนอดนอนทั้งที่นอนเต็มที่ตลอดทั้งคืน
  • ความจำสั้น ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย การตัดสินใจไม่มีประสิทธิภาพ
  • ง่วงในเวลากลางวัน เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ง่วงระหว่างทำงาน ประชุม ขณะขับรถ
  • เสียงกรนสะดุดเป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ เสียงกรนเงียบไปแล้วกลับมาหายใจเฮือกอีกครั้ง ส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ช่วงหยุดหายใจขณะหลับ
  • อายุน้อยแต่ความดันโลหิตสูงหาสาเหตุไม่ได้ หรือคนที่ความดันโลหิตสูงอยู่แล้วควบคุมยาก

อาการนอนกรนส่วนใหญ่มักพบได้กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับคนอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน เพราะมีไขมันและเนื้อเยื่อเบียดช่องทางเดินหายใจให้ตีบแคบลง โดยเฉพาะคนเอเชียที่อ้วน จะมีโอกาสเกิดการนอนกรนได้ง่ายกว่าชาวตะวันตก เพราะเค้าโครงกระดูกช่วงบริเวณใบหน้าจะเล็กกว่า โพรงจมูกแคบกว่า โอกาสเกิดการตีบแคบจึงมีมากกว่า

บทความแนะนำ ราคาดูดไขมัน เขาคิดกันยังไง? หาคำตอบกับ Rattinan.com กันครับ

การนอนกรน เสี่ยงสารพัดโรค

การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง หล่อเลี้ยงอวัยะต่าง ๆ ไม่เพียงพอ สมองจะมีการตรวจจับระดับออกซิเจนและสั่งการกระตุ้นให้ตื่นตัว เพื่อให้หายใจรับออกซิเจน ทำให้คนนอนกรนมีช่วงการหลับลึกสั้น เป็นการหลับระยะตื้นๆ อยู่ตลอด

หากปล่อยให้อาการนอนกรน หยุดหายใจ ไว้นาน นอกจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ยังเพิ่มโอกาสการเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น เพราะในช่วงที่ภาวะสมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยงอย่างเต็มที่เป็นเวลานาน

หลังจากสมองใช้งานมาแล้วตลอดวันจะมีการสะสมเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ หรือขยะตกค้างในสมอง ซึ่งเป็นตัวการทำลายการทำงานและการสังเคราะห์สารสื่อประสาท สาเหตุสำคัญของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ หากการนอนหลับไม่ดีจะทำให้การขับถ่ายหรือทำลายสารนี้ออกจากสมองทำได้ไม่ดี จึงตกค้างในสมองได้

นอนกรน หยุดหายใจ รักษายังไง

วิธีการรักษา

  • การนอนตะแคงเวลาเรานอนหงาย แรงโน้มถ่วงโลกก็จะทำให้เนื้อเยื่อหล่นลงมาอุดการหายใจได้ง่าย ทำให้คนที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น มักจะพบว่าเป็นมากที่สุดเวลานอนหงาย
  • การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายการลดน้ำหนักที่จะสามารถรักษาโรคนี้ได้หรือทำให้ดีขึ้น ควรจะอย่างน้อย 10 % ของน้ำหนักร่างกาย เช่น คนน้ำหนัก 80 กิโลกรัม ก็ควรลดน้ำหนักอย่างน้อย 8 กิโลกรัม
  • การหยุดสูบบุหรี่ หยุดดื่มเหล้า และหยุดใช้ยาที่มีผลลดการทำงานของกล้ามเนื้อควบคุมระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่นยานอนหลับบางกลุ่ม ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • อุปกรณ์ทันตกรรม (oral appliance) ซึ่งต้องทำโดยทันตแพทย์ที่มีความชำนาญ โดยอุปกรณ์นี้จะดึงขากรรไกรไปด้านหน้าเพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น โดยทั่วไปจะได้ผลดีในกรณีที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่ไม่รุนแรง
  • การใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวก (CPAP) วิธีนี้ถ้าเทียบกับทุกวิธีแล้ว ได้ผลดีที่สุดคือเกือบ 100% หลักการ คือเครื่องจะอัดอากาศต่อเนื่องเพื่อถ่างท่อทางเดินหายใจส่วนบนให้เปิดออก เครื่องนี้มีการพัฒนามากจนมีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาได้สะดวก
  • การผ่าตัด
  • การผ่าตัดกราม (maxillomandibular advancement) คือการตัดกระดูกขากรรไกร แล้วเลื่อนไปข้างหน้า ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ จะต้องนอนพักอยู่โรงพยาบาลหลายวัน ข้อดีของการผ่าตัดกรามนั้นคือถ้าได้รับการผ่าตัดจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญพบว่าได้ผลดีมากถึง 90 %
  • การผ่าตัดเพดานอ่อน (uvulo palate pharyngoplasty หรือ UPPP) โดยการผ่าตัดนั้นจะทำโดยการตัดเพดานอ่อน ต่อมทอลซิล ลิ้นไก่ เพื่อทำให้ช่องหายใจกว้างขึ้น การผ่าตัดนี้ได้ผลประมาณ 40 % แต่ถ้าคนไข้อ้วนหรือเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับรุนแรง วิธีนี้อาจไม่ได้ผล
  • การผ่าตัดจมูก (nasal surgery) การผ่าตัดนี้แม้จะได้ผลค่อนข้างดีในการรักษาการกรน แต่ไม่ค่อยจะได้ผลในการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เนื่องจากจุดที่มีการอุดกั้นมักเกิดในคอมากกว่าในจมูก

บทสรุป

นอนกรน หยุดหายใจ การนอนกรนนั้นหลายคนมักจะมองว่าจะเป็นโรคร้ายได้อย่างไร ซึ่งขอบอกเลยว่าการนอนกรนนั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเมื่อมีอาการที่คาดว่าจะส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองควรที่จะเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อที่จะได้รับการตรวจและรักษาต่อไป