You are currently viewing นอนกรน เกิดจาก สาเหตุใด มีวิธีการแก้ไข หรือรักษาอย่างไรบ้าง

นอนกรน เกิดจาก สาเหตุใด มีวิธีการแก้ไข หรือรักษาอย่างไรบ้าง

นอนกรน เป็นปัญหาในการนอนหลับของใครหลาย ๆ คน ที่ในขณะนอนหลับมีเสียงรบกวนที่ทำให้เกิดความรำคาญต่อคนรอบข้างเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากเสียงกรนจะสร้างความรำคาญแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อีกด้วย ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงต้องศึกษาหารายละเอียดเพื่อเป็นแนวทางในการรักษา เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายสุขภาพของเราได้

นอนกรน เกิดจาก

นอนกรน เกิดจากอะไร

อาการนอนกรนนั้นเกิดจาก การที่ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นของเรา เกิดการตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจที่ผ่านเข้ามาผ่านช่องที่แคบนี้ เกิดการกระพือ และกลายเป็นเสียงกรนขึ้น โดยเมื่อนอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีการหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในช่องทางเดินหายใจของเรา เช่น เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ก็จะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่เรานอนหงาย พอช่องทางเดินหายใจมันแคบลง เวลาเราหายใจเอาอากาศเข้ามา ลมที่ผ่านช่องที่แคบนี้ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการกระพือ  เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการกระพือ หรือสั่นสะเทือน ก็จะเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น และนี่ก็คือสาเหตุนอนกรน เกิดจาก เสียงกรนที่เกิดขึ้นนี้ อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น ถ้าเกิดการสั่นที่เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนในลำคอ หรือถ้าเกิดการสั่นที่เนื้อเยื่ออ่อนด้านหลังโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงกรนแบบขึ้นจมูก เป็นต้น

บทความแนะนำ เติมไขมันหน้า จากเว็บไซต์ Rattinan.com

อาการนอนกรน

  1. กรนเสียงดังมากจนรบกวนการนอนของผู้อื่น
  2. กรนสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ
  3. กรนแล้วสะดุ้งเฮือกเพื่อหาอากาศหายใจ โดยที่ผู้นอนกรนอาจจะไม่ตื่นรู้สึกตัวเลย
  4. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้าและพบว่ามีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน
  5. หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการการนอน และหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

วิธีรักษาปัญหานอนกรนโดยแพทย์

สำหรับผู้ที่นอนกรนในระดับรุนแรง หรือกรนเพราะมีปัญหาสุขภาพอย่างภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ แพทย์อาจแนะนำให้แก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมกับการดูแลตนเอง ดังนี้

  1. การใช้ยา แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุของการกรน เช่น ยาแก้แพ้หรือยาแก้คัดจมูก เพื่อบรรเทาอาการบวมและระคายเคืองในจมูกที่เกิดจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย
  2. การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน เช่น ใช้แผ่นแปะจมูกที่เป็นเทปกาวขนาดเล็กแปะบริเวณปีกจมูกทั้งสองข้าง ใช้แผ่นแปะคางที่มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเทปแปะใต้คางเพื่อป้องกันการอ้าปากขณะนอนหลับ ใช้เครื่องช่วยจัดตำแหน่งขากรรไกรล่างเพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านในลำคอและป้องกันการตีบแคบของทางเดินหายใจ หรือใช้เครื่องมือทางทันตกรรมที่ช่วยยึดขากรรไกรส่วนบนและล่างเข้าด้วยกัน และเลื่อนขากรรไกรมาทางด้านหน้า ซึ่งจะทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ เป็นต้น
  3. การผ่าตัด เป็นวิธีที่ทำให้กรนน้อยลงโดยเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่และเพดานอ่อนเพื่อกระชับเนื้อเยื่อบริเวณลำคอ ซึ่งบางกรณีอาจมีการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมแอดีนอยด์ร่วมด้วย การผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนและลิ้นไก่โดยใช้เลเซอร์ การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุเพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อแข็งแรงขึ้น หรือการฝังพิลลาร์โดยฉีดเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ที่เพดานอ่อน เป็นต้น
  4. การใส่เครื่องอัดอากาศแรงดันอากาศ (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นการรักษาอาการนอนกรนโดยอาศัยหลักการเป่าความดันลมจากเครื่อง CPAP เข้าสู่จมูกหรือปากในขณะนอนหลับ เพื่อช่วยให้แรงดันอากาศไปขยายทางเดินหายใจส่วนบนตลอดระยะเวลาที่เปิดใช้เครื่อง เนื่องจากภาวะนอนกรนในทางการแพทย์มักเกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบกว่าปกติ

นอนกรน เกิดจาก อะไร

วิธีเลี่ยงอาการนอนกรน

  1. ควบคุมน้ำหนัก ความอ้วนเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของอาการนอนกรน เพราะไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจบริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง รวมทั้งไขมันที่หน้าอกและท้อง ก็ยังเป็นภาระให้ร่างกายต้องหายใจหนักขึ้น และใช้พลังงานในการหายใจมากขึ้น
  2. ออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อที่ดึงรั้งช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ขณะที่นอนหลับเนื้อเยื่อภายในปาก จะได้ไม่หย่อนลงมาจนขัดขวางช่องทางเดินหายใจ
  3. จัดท่านอน พยายามจัดท่านอน เพื่อป้องกันการหายใจทางปาก โดยการนอนตะแคงงอข้อศอก เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคางไว้เป็นการปิดปาก หรืออาจใช้หมอนหนุนหลังเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้พลิกมานอนหงาย อาจฝึกด้วยการนอนในที่แคบ ๆ จนเคยชินก็ได้ หรือจะลองใช้ลูกเทนนิสสอดไว้ในเสื้อนอนด้านหลัง ความไม่สบายนี้ จะช่วยเตือนให้คุณหลับในท่าตะแคงได้โดยตลอด
  4. ยกศีรษะให้สูงขึ้น ถ้านอนตะแคงไม่ได้จริง ๆ ให้นอนหงายแล้วใช้หมอนเล็ก ๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน ยกศีรษะให้สูงจากเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอ จนเกิดเสียงกรนได้
  5. รักษาที่นอนให้สะอาด พยายามกำจัดปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดหอบหืด ภูมิแพ้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์
  6. พยายามอย่าให้มีขี้มูกก่อนนอน จะช่วยให้ช่องจมูกเปิดโล่ง ลมเข้าออกได้อย่างสะดวก
  7. เพิ่มระดับความชื้นในห้องนอน เพราะการนอนในห้องที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุต่าง ๆ ในระบบทางเดินหายใจพลอยแห้งตามไปด้วย บางรายอาจเกิดอาการบวม และทางเดินหายใจตีบแคบลง จนเกิดอาการนอนกรนในที่สุด