You are currently viewing เลเซอร์เพื่อรักษา เลเซอร์หน้าใส เลเซอร์รูขุมขน ให้ดูกระชับ

เลเซอร์เพื่อรักษา เลเซอร์หน้าใส เลเซอร์รูขุมขน ให้ดูกระชับ

เลเซอร์เพื่อรักษาผิวหนัง (Laser Skin) คือกระบวนการรักษาผิวหนังอย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้นด้วยเลเซอร์ จะใช้รักษาบริเวณที่เกิดความผิดปกติ และลอกชั้นผิวหนังออกทีละชั้น หรือที่เรียกว่าการกรอผิว (Lasabrasion) หรือการยิงทำลายด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Vaporization)  การทำเลเซอร์ผิวหนังเป็นการรักษาปัญหาผิวพรรณ เช่นเลเซอร์ลบรอยสัก รักษากระ ฝ้า ปานแดง ปานดำ เลเซอร์รักษาหลุมสิว เลเซอร์ยกกระชับใบหน้า เลเซอร์กำจัดขน  เลเซอร์ขนรักแร้ เลเซอร์หน้าใส เลเซอร์รูขุมขน เลเซอร์แผลเป็นและนอกจากนี้ยังใช้รักษาบริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอีกมากมาย ซึ่งต้องขึ้นอยู่ว่าเรามีความปกติทางด้านไหน ซึ่งแพทย์จะเป็นคนลงความเห็นว่าจะเหมาะกับการทำเลเซอร์หรือไม่ หากไม่สามารถทำได้แพทย์จะแนะนำในการรักษาให้กับเรา

เลเซอร์เพื่อรักษา หลุมสิว

การทำเลเซอร์เพื่อรักษา

  • เนื้องอกหลอดเลือดผู้ที่มีปานแดง เส้นเลือดฝอยบนใบหน้าหรือบริเวณคอขยายตัวผิดปกติ สามารถเข้ารับการรักษาด้วยเลเซอร์ผิวหนังได้
  • เม็ดสีผิดปกติหรือรอยสักเลเซอร์ผิวหนังใช้รักษาผู้ที่เม็ดสีผิวผิดปกติ เช่น รอยปาน ฝ้า หรือปานดำแต่กำเนิด รวมทั้งใช้ลบรอยสักบนผิวหนัง
  • การกำจัดขนเลเซอร์ใช้กำจัดขนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดภาวะขนดกขึ้นตามร่างกาย
  • คีลอยด์และรอยแผลเป็นที่นูนหนาผู้ที่มีรอยแผลเป็นนูนและหนา หรือผู้ที่เกิดแผลคีลอยด์นั้น อาจหาวิธีกำจัดรอยแผลได้ยาก การทำเลเซอร์ผิวหนังจะช่วยตกแต่งแผลเป็นให้ดีขึ้นได้
  • การฟื้นฟูปรับสภาพผิวการทำเลเซอร์ปรับสภาพผิวจะครอบคลุมปัญหารอยเหี่ยวย่น รอยแผลเป็น และผิวไหม้จากแสงแดด

นอกจากนี้ยังสามารถรักษาอื่น ๆ นอกจากปัญหาผิวพรรณต่างๆ

  • ริ้วรอยหรือรอยเหี่ยวย่นรอบดวงตา บริเวณปาก หรือบนหน้าผาก
  • จุดด่างดำ กระแดด หรือกระในผู้สูงอายุ
  • ระดับสีผิวไม่สม่ำเสมอ หรือผิวไม่เรียบเนียน
  • ผิวไหม้จากแสงแดด
  • หลุมสิวหรือรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว อีสุกอีใส หรือได้รับบาดเจ็บ
  • ผิวหนังกลับมาหย่อนคล้อยหลังจากยกกระชับผิว

และการทำเลเซอร์ผิวหนังยังช่วยรักษาหูดที่เกิดจากการติดเชื้อ อาการรอยโรคบนผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง สิว และโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา ได้อีกด้วย

ประเภทของเลเซอร์ผิวหนัง

ประเภทของเลเซอร์ผิวหนัง

เลเซอร์ที่ใช้ปรับสภาพผิวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักซึ่งเลเซอร์แต่ละชนิดก็แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรง

  1. เลเซอร์ที่ทำให้ผิวเกิดอาการลอก (Ablative Laser Resurfacing) คือวิธียิงเลเซอร์ลอกชั้นผิวที่บางออกไป แพทย์จะยิงเลเซอร์ที่มีระดับความแรงสูงไปที่ผิวหนัง เพื่อลอกผิวชั้นบนตรงบริเวณที่เกิดปัญหา โดยเลเซอร์จะผ่านแทรกเข้าไปในผิวชั้นกลาง ทำให้ผิวกระชับและเรียบเนียนขึ้น ช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพออกไป เลเซอร์ผิวหนังกลุ่มนี้ใช้แสงเลเซอร์ 2 แบบสำหรับรักษาปัญหาผิวพรรณ ได้แก่
  • คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (CO2 Laser)คือเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพมาก เลเซอร์ชนิดนี้ช่วยกำจัดรอยแผลเป็นที่หนาและลึก ใช้รักษารอยเหี่ยวย่น แผลเป็น หูด รูขุมขนกว้างบนจมูก รวมทั้งกระเนื้อและมะเร็งผิวหนัง คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์จะทำให้รู้สึกเจ็บได้ระหว่างทำเลเซอร์ และผู้ที่ทำมักใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์
  • เลเซอร์เออร์เบียม (Erbium: YAG laser)คือเลเซอร์ที่ใช้รักษาปัญหาผิวพรรณซึ่งเกิดขึ้นตื้น ๆ ไม่ได้เกิดร่องรอยลึก เช่น ปัญหาริ้วรอยบนใบหน้า มือ ลำคอ หรือหน้าอก และมักใช้รักษาหลุมสิว แสงเลเซอร์อาจทำให้เกิดรอยไหม้บริเวณเนื้อเยื่อที่ถูกยิงเลเซอร์บ้าง รวมทั้งอาจเกิดอาการบวม รอยช้ำ หรือรอยแดงเล็กน้อยอันเป็นผลข้างเคียงของการทำเลเซอร์ ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่าการทำเลเซอร์ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์
  1. เลเซอร์ที่ทำให้ผิวเกิดอาการลอกเฉพาะส่วน (Fractionated Laser Resurfacing) คือเลเซอร์ผิวหนังที่ทำให้ผิวลอกชนิดหนึ่ง ใช้รักษาปัญหาผิวพรรณเฉพาะส่วน โดยแพทย์จะยิงแสงเลเซอร์บาง ๆ ผ่านเข้าไปในชั้นผิว เกิดหลุมเล็ก ๆ จำนวนมากซึ่งเป็นบริเวณที่เซลล์ผิวเก่าถูกทำลาย และกระตุ้นเซลล์ผิวที่อยู่ลึกลงไปให้ผลิตคอลลาเจนออกมา หลังทำเลเซอร์อาจเกิดรอยแดงหรือบวมเล็กน้อยซึ่งจะหายไปภายในไม่กี่วัน ผู้ที่ทำเลเซอร์ผิวชนิดนี้อาจต้องมารับการทำเลเซอร์อีก 3-5 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 สัปดาห์

เลเซอร์ที่ไม่ทำให้ผิวเกิดอาการลอก (Non-Ablative Laser Resurfacing) คือการรักษาผิวหนังแบบรุนแรงและใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าการทำเลเซอร์ที่ทำให้ผิวเกิดอาการลอก โดยความร้อนของเลเซอร์จะกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่เซลล์ผิวที่ซึ่งถูกทำลาย อาจทำให้ต้องใช้เวลาหลายเดือนจึงจะเห็นผล

หลังการทำเลเซอร์ผิวหนัง

  • การทำเลเซอร์ชนิดที่ทำให้ผิวเกิดอาการลอกผิวหนังที่ถูกยิงเลเซอร์จะบวมและเกิดอาการระคายเคืองหลังรับการรักษา อาจมีสะเก็ดน้ำเหลือง ซึ่งไม่ควรแกะสะเก็ดนั้น แพทย์อาจทาขี้ผึ้งและปิดแผลบริเวณที่ยิงเลเซอร์อย่างดีไม่ให้สัมผัสน้ำหรืออากาศได้ เมื่อเกิดอาการปวดแผล ควรรับประทานยาแก้ปวดและประคบน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการให้ทุเลาลง
  • การทำเลเซอร์ชนิดที่ไม่ทำให้ผิวเกิดอาการลอกหลังเข้ารับการทำเลเซอร์แล้ว อาจทำให้เกิดรอยแดงหรือบวมขึ้นสักระยะหนึ่ง ผู้ป่วยอาจใช้น้ำแข็งประคบ รวมทั้งสามารถกลับไปแต่งหน้าและทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติทันที

ปัจจัยเสี่ยงและผลข้างเคียงของเลเซอร์ผิวหนัง

การทำเลเซอร์ผิวหนังถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาปัญหาผิวพรรณต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จะไม่สามารถเข้ารับการทำเลเชอร์ผิวหนังได้

  • ผู้ที่เคยใช้ยารักษาสิวไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) ก่อนเข้ารับการรักษาได้ไม่นาน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเบาหวานภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • ผู้ที่เคยมีประวัติรับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่ใบหน้า
  • สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร

เมื่อเข้ารับการรักษาปัญหาผิวพรรณด้วยการทำเลเซอร์แล้ว อาจต้องใช้เวลาสักระยะจนกว่าจะเห็นผล โดยการทำเลเซอร์ผิวหนังแต่ละประเภทให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันดังนั้น ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อผลลัพธ์ที่น่าพอใจไม่ให้เกิดผลข้างเคียงตามมา