You are currently viewing โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส เป็นอีกหนึ่งสายพันของโรคโควิด 19 ที่มีการแพร่กระจายของไวรัสได้อย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันได้แพร่กระจายไปเร็วกว่า 80 ประเทศทั่วโลกแล้ว ความรุนแรงของเชื้อไวรัสก็สร้างผลกระทบมหาศาลต่อระบบสาธารณสุขในหลายประเทศ แม้แต่ประเทศไทยเองมีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าแพร่กระจายไปทั่ว 25 จังหวัด และกรุงเทพฯ พบคนติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้ามากที่สุดถึง 491 รายแล้ว

ทำให้ในปัจจุบันได้มีการจับตามองการกลายพันธุ์ครั้งใหม่ของโรคโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส ที่มีความรุนแรงกว่าสายพันเดิมเสียอีก และวันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักว่าสายพันธุ์เดลต้าพลัสมีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไร รุนแรงแค่ไหน แล้วผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขให้ความคิดเห็นอย่างไรบ้าง พร้อมแล้วไปดูรายละเอียดต่าง ๆ จากบทความนี้กันเลย

โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

โควิดเดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าเดิมอย่างไร

โควิดเดลต้าพลัส เป็นไวรัสตัวใหม่ที่มีฤทธิ์รายแรงกว่าเดลต้าแบบเดิมเป็นอย่างมาก เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้สามารถจับกับเซลล์บนปอดได้แน่นขึ้น ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และมีศักยภาพในการหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน ขณะนี้เป็นที่ทราบกันว่า สายพันธุ์เดลต้าพลัสได้เปลี่ยนจากระดับสายพันธุ์ที่น่าสนใจ (variant of interest) มาอยู่ในระดับสายพันธุ์น่ากังวล (variant of concern)

โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้แพร่ระบาดในประเทศอินเดีย และนักวิทยาศาสตร์จะฟันธงไม่ได้ว่าสายพันธุ์นี้เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสายพันธุ์ก่อน ๆ เพราะหลักฐานทางการแพทย์ที่มีอยู่นั้นยังไม่เพียงพอต่อการประเมินความรุนแรงของสายพันธุ์ แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจส่งผลทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในอินเดียระลอกที่สองในฤดูร้อนนี้ป้องกันยากขึ้นกว่าเดิม

การใช้วัคซีนในการป้องกันโรคไวรัสชนิดนี้ อาจจะป้องกันไม่ได้ถึง 100 % แต่หากใครได้ฉีดวัคซีนเข้าไปก็จะทำให้เชื้อไม่ลงปอด และไม่ถึงขั้นเสียชีวิต หากติดเชื่อไวรัสชนิดนี้ แต่สำหรับวัคซีนที่สามารถช่วยป้องกันก็คือวัคซีนที่ผลิตจากผู้ผลิต Pfizer และ AstraZeneca ได้ให้ประสิทธิภาพป้องกันอาการติดเชื้อไม่ให้หนักกว่าเดิมได้ถึง 90%

โควิดเดลต้าพลัส กระจายไปประเทศไหนแล้วบ้าง

สำหรับโควิดสายพันเดวต้าพลัสได้กระจายไปยังหลายประเทศแล้ว โดยได้พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดรายใหม่ที่เชื้อได้กลายพันธุ์เป็นเดลต้าพลัสราว 40 ราย และได้ระบุว่าขณะนี้พบสายพันธุ์ดังกล่าวในรัฐมหาราษฎร์ เกรละ และมัธยประเทศ มีการตรวจโควิด rt pcr

นอกจากนี้ในข้อมูลที่มีการค้นพบเชื้อไวรัสเดลต้าพลัสในสหรัฐฯ 83 ราย และประเทศอื่น ๆ ที่เริ่มพบเห็นการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าพลัส ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา อินเดีย ญี่ปุ่น เนปาล โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี ส่วนประเทศไทยยังไม่พบการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อของโรคโควิดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ความรุนแรงของโรคโควิดสายพันเดลต้าพลัส มีความรุนแรงอย่างไรบ้าง

สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากเว็บไซต์ขององค์กร Science Media Centre ของสหราชอาณาจักร ได้มีความคิดเห็นไปในทิศทางที่ว่าเป็นไวรัสที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ  และขณะนี้การแพร่ระบาดยังไม่ถึงขั้นที่ต้องน่ากังวล

และทางการแพทย์ โดยแกนนำของ David Robertson ศาสตราจารย์สาขาวิชาไวรัสวิทยาและชีวสารสนเทศจากมหาวิทยาลัย Glasglow กล่าวถึงไวรัสสายพันธุ์นี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่าสายพันธุ์เดลต้าพลัสจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร เพราะเป็นเพียงการกลายพันธุ์ในส่วนของหนามโปรตีน K417N ชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งเบื้องต้นถ้าอ้างอิงจากสายพันธุ์เดลต้าเดิมก็จะพบว่าระบาดง่ายกว่าและเป็นสายพันธุ์หลักที่ครอบคลุมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

ด้าน Francois Balloux ศาสตราจารย์ด้านชีวสารสนเทศศาสตร์และผู้อำนวยการของสถาบันพันธุศาสตร์ (Genetics Institute) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (UCL) ได้ให้ความคิดเห็นต่อสายพันธุ์เดลต้าพลัสว่า ยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวลเท่าไรนัก แม้ว่าจะมีการค้นพบในหลายประเทศ แต่อัตราส่วนของผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำมาก ยกเว้นประเทศเนปาลที่ได้ประเมินสัดส่วนของผู้ติดเชื้อเดลต้าพลัสไว้ที่ราว 4% ทั้งนี้ สัดส่วนการแพร่เชื้อของเดลต้าพลัสเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วโลกสะท้อนอยู่ที่ราว 0.00002% และยังไม่มีหลักฐานการแพร่เชื้อที่ชัดเจนในประเทศต่าง ๆ

ดังนั้นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงก็ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดี ดูแลตัวเองให้ออกห่างจากโรคไวรัสชนิดนี้ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง และที่สำคัญไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้าน และอยู่ในที่ชุมชนที่มีคนเยอะ ๆ เพราะการอยู่ในที่ชุมชนที่แออัดอาจจะทำให้เรารับเชื้อโรคนี้มาสู่คนในครอบครัวของเราได้นั่นเอง ทางที่ดีอยู่แต่ในบ้านจะทำให้เราปลอดภัยจากโรคนี้อย่างแน่นอน