You are currently viewing นอนกรนอันตรายไหม สาเหตุเกิดจากอะไร รักษายังไงดี

นอนกรนอันตรายไหม สาเหตุเกิดจากอะไร รักษายังไงดี

การกรน (Snoring) มักเกิดขึ้นได้กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องคอแคบลง ซึ่งส่งผลให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง ความแรงของลมหายใจที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อ ภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีเสียงกรนตามมา การนอนกรนอันตรายไหม

สามารถดูสาเหตุการกรน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ ภายในระบบทางเดินหายใจ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อน คอ หรืออาจเกิดจากสารหล่อลื่น ในระบบทางเดินหายใจลดลง ทำให้เกิดอาการแห้ง และบวม ทางเดินหายใจจึงแคบลง เมื่อหายใจจึงเกิดเป็นเสียงกรน

กรน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปจึงมักถูกมองข้ามด้วยความเคยชินและคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่จริงแล้วการนอนกรนเป็นหนึ่งในภาวะผิดปกติของการนอนหลับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา

นอนกรนอันตรายไหม

บทความแนะนำ ฉีดสลายไขมัน VS ตัดไขมันกระพุ้งแก้ม จาก Rattinan.com

กรนแค่ไหน เข้าขั้นอันตราย

การนอนกรนที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพนั้นสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง โดยอาจเป็นการบันทึกเสียงระหว่างการนอนหลับหรือให้บุคคลใกล้ชิดเป็นผู้แจ้งเตือนว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ คือ

  • อาการกรนมีเสียงดังมากจนรบกวนการนอนของผู้อื่น
  • การกรนสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ กรนแล้วสะดุ้งเฮือกเพื่อหาอากาศหายใจ

ส่วนอาการร่วมอื่น ๆ ได้แก่

  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง
  • รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้าและพบว่ามีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ
  • ง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น

หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจ Sleep test  และหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

บทความแนะนำ Gynecomastia รักษา จาก Rattinan.com

การวินิจฉัยนอนกรน

  • การเอกซเรย์ (X-Rays) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติหรือโครงสร้างของทางเดินหายใจ
  • การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการนอนกรน ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาการนอนหลับอื่น ๆ อาจต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนอนหลับโดยผู้เชี่ยวชาญ

โดยจะมีการติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจจับและบันทึกสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด ระยะของการนอนหลับ การเคลื่อนไหวของดวงตา การเคลื่อนไหวของขาขณะนอนหลับ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของนอนกรนอันตรายไหม

  • ความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง หากเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นเวลานาน
  • หยุดหายใจชั่วคราว อาจนานไม่กี่วินาทีหรือนานเป็นนาทีในขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด
  • นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกหลายครั้ง ที่อาจรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้รู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การป้องกันนอนกรน
  • นอนตะแคง การนอนหงายเพิ่มโอกาสให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • นอนหมอนสูง โดยใช้หมอนรองให้ศีรษะสูงขึ้นประมาณ 4 นิ้ว
  • ลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาระงับประสาท เพื่อลดโอกาสที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวและปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • ใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ควรลดน้ำหนัก จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การรักษาอาการนอนกรน
  • เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือ ซีแพ็พ (CPAP)

เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการ เปิดขยาย และถ่างทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่ให้ ตีบแคบขณะที่เรานอนหลับ โดยตัวเครื่องจะ เป่าลมผ่านท่อสายยาง ไปสู่จมูกผู้ป่วย ผ่านจากหน้ากาก ปัจจุบันเครื่องและ หน้ากากนี้มีหลายรูปแบบและหลายบริษัท เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน จึงสามารถลอง เลือกใช้เครื่องหรือหน้ากาก ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

การรักษาด้วยเครื่องซีแพ็พจึงถือเป็นมาตรฐานการรักษาโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ เนื่องมีประสิทธิภาพสูงในผู้ป่วยเกือบทุกราย แต่จะเป็นผลสำเร็จในระยะยาวหรือไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ป่วย

นอนกรนอันตรายไหม รักษายังไง

  • การใส่ฟันยาง หรือOral Appliance

ผู้ป่วยบางราย อาจรักษาได้ผลดี ด้วยการใส่ฟันยาง  การใส่ฟันยางนี้ ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจ และประดิษฐ์ ฟันยางให้ผู้ป่วยแต่ละคน จะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีระดับโรค เล็กน้อย และ ปานกลาง ฟันยางนี้ จะช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้นโดยการ ยื่นขากรรไกรล่างและลิ้นมาทางด้านหน้า  ปัญหาที่พบได้จากการใส่ฟันยางนี้ เช่น ปวดขากรรไกร การสบฟันเปลี่ยนไป น้ำลายไหลมาก

  • การผ่าตัด

เพื่อรักษาโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ได้ผลในบางราย เช่น การผ่าตัด ต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ในเด็ก จะสามารถช่วยเด็กได้มาก ถือเป็นมาตรฐานการรักษาในเด็ก

บทสรุป

นอนกรนอันตรายไหม การนอนกรนหากมีอาการไม่มากก็จะไม่อันตราย แต่หากมีอาการมากจะส่งผลให้เกิดโรคและอันตรายตามมาได้ ซึ่งได้แก่ การหยุดหายใจในขณะหลับ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหากไม่รีบรักษาโรคเหล่านี้จะมาเยือนคุณได้